วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ผักเหนาะ



ผักเหนาะ หมายถึง ผักสด ผักลวกกะทิ หรือผักดอง ชาวภาคใต้นิยมรับประทานควบคู่กับอาหารเผ็ด เช่น น้ำพริก แกงพุงปลา แกงคั่ว ขนมจีน ฯลฯ การกินผักเหนาะก็เพื่อให้ต่างรส แก้เอียนคาว หรือลดรสชาติบางชนิดลง ทั้งยังให้คุณค่าทางโภชนาการ และคุณค่าทางยาสมุนไพรเพิ่มขึ้น ปัจจุบันความนิยมกินผักเหนาะของชาวใต้ ยังคงมีอยู่โดยทั่วไป โดยเฉพาะการกินผักเหนาะกับขนมจีน หากไม่มีแล้วจะรู้สึกว่าการทานขนมจีนมื้อนั้นจะขาดรสชาติไปในทันที วัฒนธรรมการกินผักเหนาะกับขนมจีนเท่าที่นิยมกันมีอยู่ 3 ลักษณะคือ
1.กินในลักษณะผักสด เป็นที่นิยมกันมากเพราะสะดวก และให้คุณค่าทางอาหาร โดยการนำเอาพืชผักหรือผล เช่น แตงกวา ถั่วฟักยาว มะเขือ ลูกเนียง ฯลฯ หรือยอดผักต่าง ๆ เช่น แมงลัก โหระพา มันปู แซะ กระถิน มะม่วงหิมพานต์ ฯลฯ มาล้างให้สะอาด แล้วนำมาจัดรวมไว้ในภาชนะเดียวกัน ทั้งที่ยังเป็นผล ต้นผัก หรืออาจนำมาหั่นเป็นชิ้นพอคำก็ได้ 2.นำผักสดมาลวกกะทิ ผักเหนาะที่นิยมนำมาลวกกะทิก่อนกิน เช่น ผักบุ้ง ปลีกล้วย หยวกกล้วย มะเขือ ผักกูด ลูกเหรียง หน่อไม้ ฯลฯ และ 3.นำผักสดมาหมักดอง ผักเหนาะที่นิยมนำมาหมักดองก่อนกิน เช่น ผักเสี้ยน ผักหนาม สะตอ ประ ผักกาด ฯลฯ ซึ่งการดองต้องใช้เวลาหลายวัน แต่สำหรับผักบุ้ง แตงกวา ปลีกล้วย จะสามารถดองแล้วรับประทานได้เลย.

ขนมหวาน

ขนมหวานไทยๆแต่โบราณกาล เข้ามาในไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยชาวโปรตุเกสเป็นผู้ริเริ่มสอนทำขนมเหล่านี้ให้คนไทย 

วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

อาหารใต้

แนะนำอาหารใต้

              อาหารภาคใต้ เป็นอาหารที่มีรสชาติเผ็ดร้อน มีรสเค็ม เปรี้ยว แต่จะไม่นิยมรสหวาน ส่วนในเรื่องสีของอาหารนั้นส่วนใหญ่จะเป็นสีเหลืองจากขมิ้น รสเค็มนั้นก็จะได้จากกะปิ เกลือ และเนื่องจากอาหารภาคใต้มีรสชาติที่จัดจ้าน จึงนิยมรับประทานคู่กับผักเคียงหรือผักเหนาะเพื่อช่วยลดความเผ็ดร้อนของอาหาร 


ตัวอย่างอาหารใต้ เช่น

1.ปลาทอด


2. คั่วกลิ้ง


3. หมูโค



4.น้ำพริกกุ้งเสียบ